ไส้เดือนสีน้ำเงิน ชื่อสามัญ Blue worm, Indian Blue, Malasian Blue
ชื่อวิทยาศาสตร์ Perionyx excavatus
เป็นไส้เดือนดินที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย พบตามธรรมชาติ ในภูมิประเทศของเอเชีย ทั้งอินเดีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ ลาว เขมร และประเทศไทย ไส้เดือนสีน้ำเงินเป็นไส้เดือนขนาดเล็กมีลักษณะของลำตัวผอมแต่ยาว เมื่อโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 4 นิ้ว น้ำหนักตัวประมาณ 0.2 กรัม ลำตัวส่วนหน้ามีสีแดงหรือสีม่วงเข้ม ลำตัวส่วนหลังมีสีแดงหรือสีน้ำตาล
ไส้เดือนสีน้ำเงินมีความสามารถในการกำจัดขยะอินทรีย์และผลิตปุ๋ยหมักได้ใกล้เคียงกันกับไส้เดือนที่นิยมเลี้ยงกันทั่วโลกอีก4ชนิด คือไส้เดือนไทเกอร์ ไส้เดือนไทเกอร์แดง ไส้เดือนยูโรและ
ไส้เดือนแอฟริกัน(พันธุ์ AF) แต่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ไส้เดือนสีน้ำเงิน
สามารถขยายพันธุ์ได้เร็วกว่ามาก
โดยการคำนวณพบว่า หากเริ่มต้นด้วยพ่อแม่พันธุ์ไส้เดือนสีน้ำเงินจำนวน 1,000 ตัว ภายในระยะ1ปี จำนวนไส้เดือนทั้งหมดจะเพิ่มเป็น 15,000 ล้านตัว รวมทั้งมีไข่ที่เป็นโคคูนอีก 20,000ล้านฟอง
ไส้เดือนสีน้ำเงินมีขนาดเล็กและลำตัวผอมจึงไม่เหมาะใช้เป็นเหยื่อเกี่ยวเบ็ด แต่มีลักษณะเด่นเหนือไส้เดือนที่นิยมเลี้ยงโดยแพร่หลายชนิดอื่นๆในหลายๆด้าน เช่น ไส้เดือนสีน้ำเงินผลิตปุ๋ยหมักที่มีความละเอียด (เม็ดเล็ก) และมีลักษณะนุ่มมากกว่า
ไส้เดือนสีน้ำเงินมีความเหมาะสมสำหรับใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ และสัตว์เศรษฐกิจขนาดเล็ก
เช่นลูกปลา ปลาสวยงามขนาดเล็ก และที่กำลังมาแรงในปัจจุบันคือใช้เลี้ยงกุ้งก้ามแดง (เครย์ฟิช)
ไส้เดือนสีน้ำเงินสามารถขยายพันธุ์ได้หลายแบบ ทั้งการจับคู่ผสมพันธุ์ และการพัฒนาของไข่เป็นตัวไส้เดือนได้โดยไม่มีการปฏิสนธิ (Parthenogenesis) ทั้งมีงานการศึกษาพบว่า ไส้เดือนสีน้ำเงินเป็นชนิดของไส้เดือนที่สามารถเพิ่มจำนวนชุดของโครโมโซมได้มากกว่า2ชุด(Polyploid)
ไส้เดือนสีน้ำเงินมีลักษณะเด่นเฉพาะอีกอย่างหนึ่งคือ น้ำกลางลำตัวของไส้เดือน(Coelomic fluid) มีสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอมอ่อนๆเหมือนดอกโมก และมีฤทธิ์ในการกำจัดเชื้อราที่ผลิตสารพิษ
#น้ำหมักชีวภาพ
コメント